วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขอบคุณที่มาของภาพ
ขอบคุณที่มาของภาพ


สารนิเทศ คือ ข้อมูลข่าวสารความรู้ ข้อเท็จจริง ที่ได้มีการบันทึกไว้ในสื่อที่สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นทราบได้ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่ง เพื่อนำสารนิเทศนั้นไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ
ประเภทของสารนิเทศมี 3 ประเภท1. สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)  หมายถึง  สารสนเทศที่เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน หรือเป็น ผลการค้นคว้าวิจัย  นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ  ได้แก่  รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์  เอกสารการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุมทางวิชาการ   บทความวารสารวิชาการ   เอกสารสิทธิบัตร   เอกสารมาตรฐาน  เอกสารจดหมายเหตุ
2. สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources) หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่  เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ  ได้แก่  หนังสือทั่วไป  หนังสือตำรา  หนังสือคู่มือการทำงาน   รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ  บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ  วารสารสาระสังเขป เป็นต้น
3. สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ  ได้แก่หนังสือนามานุกรม  บรรณานุกรม  และดัชนีวารสาร เป็นต้น  
แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศทุติยภูมิและสารสนเทศตติยภูมิ


ความสำคัญของสารนิเทศ

1. เพื่อการศึกษา (Education) สารนิเทศที่จัดเก็บและให้บริการในห้องสมุด และศูนย์สารนิเทศทั่ว ๆ ไป ล้วนแล้วแต่ให้ ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นต่อการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ความหมายของคำว่าการศึกษามีความหมายกว้าง ไม่เน้นถึงความหมายเพื่อการศึกษาอยู่แต่ในโรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึง การศึกษาด้วย ตนเองอีกด้วย สารนิเทศเพื่อการศึกษาได้แก่ หนังสือ แบบเรียน ตำราเรียน คู่มือครู หนังสือประกอบการเรียนการสอน และจากสภาพสาร นิเทศที่เปลี่ยนไปมีสื่อสารนิเทศประเภทโสตทัศนวัสดุเข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอน เช่นการใช้วีดีทัศน์ ประกอบการเรียน การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสอนเป็นต้น สารนิเทศเพื่อการศึกษา จึงเป็นสื่อสำคัญเพื่อการพัฒนาคน ทางด้านการศึกษา
2. เพื่อให้ความรู้ (Information) คนในสังคมมีความจำเป็นต้องทราบความ เปลี่ยนแปลงไปในสังคม ต้องทราบข่าวในสังคม ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การติดต่อสื่อสารในสังคม แต่ละวันจะได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สารนิเทศทุกประเภทล้วนแล้วแต่ให้ข่าวสาร ที่เกิดขึ้น ในสังคม โดยเฉพาะสารนิเทศประเภทวารสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจนสื่อสารนิเทศ ประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ล้วนแล้วแต่มีบทบาทอย่างสูง ต่อการติดตามข่าวใน สังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน สารนิเทศต่าง ๆ จึงมีความสำคัญต่อการขจัดความสงสัย ในเรื่อง ใคร่รู้ของเหตุการณ์ในสังคมให้หมดสิ้นไป
3. เพื่อการค้นคว้า (Research) ในยุคสังคมข่าวสารปัจจุบัน สารนิเทศที่ตอบสนองในเรื่องการค้นคว้า วิจัย มีบทบาทอย่างสูง ต่อการพัฒนาคน และพัฒนาประเทศในแต่ละประเทศต่างพยายามสนับสนุน งบประมาณในการทำวิจัย และ การค้นคว้าทาง เทคโนโลยี ต่างๆ สารนิเทศทางด้านการศึกษาค้นคว้า ไม่ว่าจะจัดทำให้บริการอยู่ในรูปใด เช่น บัตร สาระสังเขป สมุดสถิติ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการก่อให้เกิดสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าที่ทันสมัย และนำไปใช้ ในการพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้านได้ ต่อไป
4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) สารนิเทศต่างๆ นอกจากผู้ใช้จะได้ประโยชน์ทางด้านการได้ สารนิเทศเพื่อการศึกษา ได้รับความรู้แล้ว สารนิเทศบางประเภท และบางชนิดยังอำนวยประโยชน์ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ ทำให้เกิดความสุขทางจิตใจ เช่น การอ่านหนังสือวรรณกรรมที่สำคัญ ช่วยก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความดีงามใน ความคิดของผู้อื่น
5.เพื่อความบันเทิง (Recreation) สังคมสารนิเทศในปัจจุบัน มีสื่อสารนิเทศเพื่อความบันเทิง ในการพักผ่อนหย่อนใจมากๆ แต่ละชนิดล้วนแล้วแต่ตอบสนองสาร นิเทศเพื่อความบันเทิงส่วนตัวหรือครอบครัว เช่น การอ่านหนังสือที่ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว หรือการเพลิดเพลินชมรายการจากโทรทัศน์ หรือ ฟังเพลงที่ชื่นชอบจากวิทยุ สื่อสารนิเทศเพื่อ การบันเทิง มีการผลิตมากมาย เพื่อสนองความต้องการ ของผู้ใช้สารนิเทศประเภทนี้อย่างทั่วถึง และอำนวยความสะดวกสบายต่อการใช้เพื่อความบันเทิงได้อย่างเต็มที่
ความสำคัญของสารนิเทศในสังคม เป็นความจำเป็นของคนในสังคมที่ต้องใช้ สารนิเทศเพื่อพัฒนาตนเอง และใช้สารนิเทศ อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม สารนิเทศจึงมีความสำคัญ ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของสังคม ให้ก้าวหน้าอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด


ที่มา guru.google.co.th/guru/thread?tid=15d5f4338f34460b





1 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากที่มมีการอ้างที่มาของข้อมูล แต่จะดีมากกว่านี้ค่ะ ถ้าหากนักศึกษาอ่านและเขียนใหม่ด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เราเข้าใจ จดจำได้ และฝึกใช้ความรู้ที่ได้จากการอ่านมาฝึกคิดและฝกเขียนหรือพิมพ์ค่ะ

    ตอบลบ